ย่านคลองพระโขนง

ย่านคลองพระโขนง ในเขตคลองเตย
เป็นคลองที่ถูกเลือกในโครงการสองของ
"ชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"



แผนผังชุมชนในย่านคลองพระโขนงในโครงการ "ชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"

คลองพระโขนง 
มีองค์ประกอบทางด้านกายภาพ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กอปรกับองค์ประกอบตามข้อเสนอโครงการฯ จึงได้คัดเลือกพื้นที่ที่จะเข้าดำเนินกิจกรรม และจำกัดความยาวของคลองพระโขนง เป็นความยาว 1.80 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่มีครบทั้ง 4 องค์ประกอบ (ชุมชน สถานศึกษา ศาสนสถาน และสถานประกอบการ)

      ด้านชุมชน ประกอบด้วย 2 ชุมชน
            1. ชุมชนริมคลองพระโขนง
            2. สวนนกโรงกลั่นบางจาก
      ด้านศาสนสถาน ประกอบด้วย 3 แห่ง
           1. วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร
           2. วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร (วัดทุ่ง)
           3. วัดมหาบุศย์
      ด้านสถานศึกษา ประกอบด้วย 1 แห่ง
           1. โรงเรียนปทุมคงคา
      ด้านสถานประกอบการ ประกอบด้วย 3 แห่ง
           1. ตลาดสดริมคลองพระโขนง
           2. ตลาดสดแสงทิพย์
           3. อาคารชุด Asprie คอนโด

พื้นที่ของโครงการ
ชุมชนเกาะกลาง 
เป็นชุมชนต้นแบบหนึ่งในศูนย์เรียนรู้การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน ประจำย่านคลองพระโขนง ที่ได้รับเลือกเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน  ของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เป็นชุมชนที่มีจุดเด่นในด้านพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นเกาะ มีน้ำคลองอยู่ล้อมรอบชุมชน  มีทัศนียภาพเป็นวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำ เป็นชุมชนหนึ่งที่น่าสนใจมาก เนื่องจากมีความเฉพาะตัวในด้านการดำเนินชีวิตของผู้คนที่สืบเนื่องมาจากอดีต ทั้งการเป็นอยู่และการพึ่งพาอาศัยกัน มีศาลหลวงปู่ดำและพระพุทธะชินราชซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชุมชน สะท้อนให้เห็นความเชื่อ ความเคารพนับถือของชาวบ้านในชุมชน

ชุมชนเน้นการพึ่งพาตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บ้านส่วนใหญ่ มีการปลูกพืช ผักสวนครัว เพาะเห็ด เพื่อบริโภคในชุมชน  มีการผลิตผลิตภัณฑ์สีเขียวเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน  เช่น สบู่ แชมพู ครีมนวดผม น้ำยาซักผ้า น้ำยาทำความสะอาดชำระล้างสูตรชีวภาพ  ยาดม ยาหม่อง  และสินค้าประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้  เพื่อนำมา Recycle  หรือประดิษฐ์ใหม่  เช่น กระเป๋า ตะกร้า กล่องบรรจุสิ่งของต่างๆ   ทำให้มีสินค้าเชิงอนุรักษ์ที่หลากหลาย  สามารถใช้งานได้ในชุมชน  เป็นการลดต้นทุน และเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนเป็นอย่างดี  ด้วยการเป็นชุมชนที่อยู่ปลายน้ำ  มีน้ำคลองอยู่ล้อมรอบ และชุมชนมีวิถีผูกพันกับสายน้ำมายาวนาน   คนในชุมชนจึงมีความใส่ใจและต้องการอนุรักษ์คลองให้ดีให้คงอยู่  มีการบำบัดน้ำเสียต้นทางที่เป็นรูปธรรมก่อนปล่อยทิ้ง  เช่น การทำถังดักไขมันติดตั้งตามครัวเรือน  มีการตั้งถังหยดน้ำจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียในรางระบายน้ำและลงสู่คลอง  การใช้ผลิตภัณฑ์ชำระล้างสูตรชีวภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โรงเพาะเห็ดในชุมชน

สร้างรายได้ให้กับชุมชน

ใช้พื้นที่ทางเดินในชุมชนปลูกผัก

ผักสวนครัว

สบู่ต่างๆ ผลิตภัณฑ์ที่ทำกันเองในชุมชน ผลิตเพื่อจำหน่าย


ชุมชนมีการคัดแยกขยะและจัดการขยะภายในชุมชนมากที่สุด เช่น ขยะอินทรีย์ นำมาแปรรูป ทำเป็นปุ๋ยหมัก น้ำหมัก  เศษผลไม้รสเปรี้ยวทำเป็นน้ำยาทำความสะอาด  ส่วนขยะรีไซเคิลแต่ละบ้านแยกขายเพิ่มรายได้  ขยะที่เหลือทิ้งจึงมีเพียงขยะทั่วไป  ที่ลดลงจากขยะรวมเดิมมากกว่า 70%  และขยะอันตรายที่รวบรวมไว้ให้สำนักงานเขต กรุงเทพมหานครนำไปกำจัดต่ออย่างถูกต้องต่อไป  นอกจากกิจกรรมการจัดการขยะและน้ำเสียแล้ว   ชุมชนยังรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นในการร่วมดำเนินกิจกรรมสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย  พร้อมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และศึกษาดูงาน จากภาคส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น